รายชื่อวารสารวิชาการ ก.พ.อ. รับรอง

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ก.พ.อ. ได้ประกาศรายชื่อวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ซึ่งมีรายชื่อดังนี้ค่ะ

๑. ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
– Academic Search Premier (http://www.ebsco.com/home)
(select ebscohost and then academic search premier)
– Agricola (http://agricola.nal.usda.gov)
– BIOSIS (http://www.biosis.org)
– CINAHL (http://www.ebscohost.com/academic/cinahl-plus-with-full-text)
– EiCOMPENDEX (http://www.ei.org)
– ERIC (http://www.eric.ed.gov/)
– H.W.Wilson (http://www.ebscohost.com)
(select ebscohost and then H.W.Wilson)
– Infotrieve (http://www.infotrieve.com)
– Ingenta Connect (http://www.ingentaconnect.com)
– INSPEC (http://www.theiet.org/publishing/inspec)
– MathSciNet (http://www.ams.org/mathscinet)
– MEDLINE/Pubmed (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/)
– PsycINFO (http://www.apa.org/pubs/databases/psycinfo/index.aspx)
– Pubmed (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/)
– ScienceDirect (http://www.sciencedirect.com)
– SciFinder (https://scifinder.cas.org/)
– Scopus (http://www.info.scopus.com)
– Social Science Research Network
(http://papers.ssrn.com/sol3/DisplayAbstractSearch.cfm)
– Web of Knowledge (http://wokinfo.com)

๒. ฐานข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai JournalCitation Index — TCI) เฉพาะวารสารที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒
(http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php)

ซึ่งวารสารช่อพะยอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏมหาสารคาม ของเราก็อยู่ในกลุ่มวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติด้วย หากคณาจารย์ท่านใด ต้องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ สามารถส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการค่ะ

ที่มา: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง หน้า๑๔ วันที่๑ ตุลาคม ๒๕๕๖

Posted in Uncategorized | Tagged | Leave a comment

สรุปสาระสำคัญในการประชุม “การพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI ไปสู่คุณภาพ กลุ่ม 1

การพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI ไปสู่คุณภาพ กลุ่ม 1

กลุ่มวารสารจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยแบ่งจากคะแนนประเมินคุณภาพซึ่งมีคะแนนเต็ม 18 คะแนน (9 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน มีเกณฑ์ในการพิจารณาที่ชัดเจนในเอกสารประกอบการประชุม) ดังนี้

เกณฑ์หลัก 2 ข้อ

  1. บทความทุกบทความต้องการควบคุมคุณภาพจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review)
  2. วารสารต้องออกตรงตามเวลาที่กำหนด (ต้องตีพิมพ์ทุก issue ให้ได้ภายใน 31 ธ.ค.)

ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ ก็ไปพิจารณาเกณฑ์รองอีก 7 ข้อ ถ้าไม่ผ่าน 2 ข้อจะไม่ถูกพิจารณาในเกณฑ์รองไม่เข้าฐาน TCI

เกณฑ์รอง 7 ข้อ

  1. วารสารมีอายุการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี *หากเป็นวารสารใหม่ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือตีพิมพ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ
  2. มี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI
  3. มีการกำหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน
  4. มีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน
  5. ตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลายหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
  6. มีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน
  7. มีเว็บไซต์หรือมีระบบส่งบทความแบบออนไลน์ และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

การพิจารณาประเมินกลุ่มวารสาร

วารสารกลุ่มที่ 1   (15-18 คะแนน)

วารสารกลุ่มที่ 2   (8-14 คะแนน)

วารสารกลุ่มที่ 3   (1-7 คะแนน)

เกณฑ์แต่ละข้อนั้นได้มีผู้ซักถามประธานในที่ประชุม คือ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ TCI ดังนี้

เกณฑ์หลักข้อ 1

Q: การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เกษียณอายุราชการแล้วให้นับเป็นผู้ทรงภายในหรือภายนอก
A: หากไม่ได้ต่อสัญญาถือเป็นภายนอก แต่ถ้าต่อสัญญาถือเป็นภายใน

Q:
ผู้ทรงไม่มีตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่
A: ได้ แต่ต้อง Active หมายถึง มีผลงาน บทความ งานวิจัยที่ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในศาสตร์หรือสาขานั้น ประธานได้กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) นั้นคนส่วนใหญ่มองว่าควรจะมีตำแหน่งเป็นระดับ ศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ แต่ประธานมองว่า ศาสตราจารย์บางคนนั้นไม่ Active (ไม่ค่อยตีพิมพ์งานวิจัยอะไรใหม่ๆ ) และส่วนใหญ่อายุมากแล้ว (อ้างอิงจากงานวิจัย) เพราะฉะนั้นควรเลือกระดับ ร.ศ. หรือ ผ.ศ. จะดีกว่า

  • ผู้ทรงภายนอกคือ ภายนอกหน่วยงาน เช่นนอกมหาวิทยาลัย ต่างคณะฯ ไม่ถือเป็นผู้ทรงภายนอก
  • หลักการในการในการเลือก Peer review สำหรับพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารให้ใช้หลักการ คนในจะตีพิมพ์คนนอกอ่าน คนนอกจะตีพิมพ์คนในอ่าน
  • ประธานในที่ประชุมแนะวิธีในการหาผู้ทรงดังนี้
  • คนที่ Paper นั้นอ้างถึง
  • กรรมการบริหารหลักสูตร อาจทำเป็น list รายชื่อแล้วเลือก

เกณฑ์รองข้อ 5
Q:
Aim and Scope จะต้องระบุบลึกขนาดไหน
A: จะต้องมีการระบุ Aim and Scope ของวารสารให้ชัดเจน จนถึง ระดับสาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ ไม่ใช่ระบุบแค่ระดับคณะฯ

เกณฑ์รองข้อ 7

Q: หากบทความที่ตีพิมพ์นั้นมีผู้นิพนธ์ทั้งจากหน่วยภายในและภายนอก จะนับเป็นบทความจากภายในหรือภายนอก
A: นับเป็นภายนอก

Q: บทความพิเศษ เช่น Presentation จาก conference หรือบทความที่เกิดจากการเชิญให้ผู้เชียวชาญที่มีความเชียวชาญเขียนบทความจะนับเป็นบทความปกติหรือไม่
A: ไม่นับ แต่ถ้าอยากให้นับจะต้องเข้ากระบวนการ Peer review

Q: หากมีบทความต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่ภาษาไทย) จะต้องแปลบทความนั้นเป็นภาษาไทยหรือไม่
A: ไม่ต้องแปลแต่จะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

Q: หากจะออกวารสารเพิ่มเป็นฉบับพิเศษ จะนับบทความนั้นหรือไม่?
A: นับหากเข้ากระบวนการ Peer review และหากจะออกวารสารฉบับพิเศษ บทความที่ตีพิมพ์จะต้องไม่ซ้ำกับ issue ปกติ

ประเด็นอื่นๆ

  • การประเมินรอบต่อไปจะทำการประเมินในปี 2558
    – จะดูบทความที่ตีพิมพ์ในปี 57
    – แบบประเมินที่ดำเนินการในปี 57
    – บทความที่ตีพิมพ์จะต้องมาจากนอกหน่วยงานมากกว่าในหน่วยงาน (เพราะเกณฑ์ในข้อนี้มีว่า มีบทความมากว่าหรือเท่ากับ 50%ของบทความทั้งหมด จะได้ 2 คะแนนเต็ม ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 25% ได้ 1 คะแนน ถ้าน้อยกว่า 25% ได้ 0 คะแนน)
  • จะมีการจัดประชุมเพื่อกำหนดเกณฑ์วารสารวิชาการในประเทศให้เป็นรูปแบบเดียวกันซึ่งจะมีหน่วยงาน เช่น  วช. สกอ. สวทช. สมศ. สถาบันคลังสมองแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันนั้นแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์ในการกำหนดเกี่ยวกับวารสารวิชาการแตกต่างกัน เช่น สกอ. จะต้องตีพิมพ์ใน ฐาน ISI , Scopus, SJR  หรือ สกว. จะดูฐานอื่นเป็นเกณฑ์ ฯลฯ ประธานกล่าวว่าจะต้องเชิญหน่วยงานดังกล่าวมาปรึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานร่วมกัน
  • ภาพรวมจำนวนบทความที่ถูกตีพิมพ์ออกมาต่อจำนวนวารสารของประเทศเรานั้น ถือว่า จำนวนวารสารของเรามีจำนวนมาก แต่บทความมีจำนวนน้อยจึงทำให้เกิดปัญหาในการหาบทความมาตีพิมพ์ในวารสาร ดังนั้นทางออกในการแก้ปัญหาคือ การยุบรวมกลุ่มกันของวารสาร มีข้อดีคือเกิดคุณภาพ ไม่แย่งบทความกันเพื่อไปตีพิมพ์ มีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบัน
  • จากการวิจัยพบว่า วารสารที่มี citation สูงๆ นั้นส่วนมากเป็นวารสารที่มาจาก ชมรมหรือสมาคม หรือการรวมกลุ่มของวิชาชีพ มากกว่าวารสารที่มีชื่อมาจากมหาวิทยาลัย
Posted in ความรู้ | Tagged | Leave a comment

การแทรกเลขหน้าใน MS Word (แบบไม่ให้บางหน้าแสดงตัวเลข)

มีหลายๆ คนมีปัญหาเรื่องการแทรกเลขหน้า ในการพิมพ์รายงานวิชาการ หรือการพิมพ์วิทยานิพนธ์นั้น หน้าที่เป็นบทที่จะต้องไม่พิมพ์หมายเลขหน้า หลาย ๆ แต่จะต้องนับจำนวนหน้าต่อกันไปเรื่อย ๆ วันนี้มีวิธีการกำหนดค่าเพื่อไม่ให้มีเลขหน้าในหน้าที่เป็นบทที่ มาฝากค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 ไปที่เมนูแทรก >> หมายเลขหน้า >> ด้านบนของหน้า

pic_1

ขั้นตอนที่ 2 ให้คลิกเลือกที่เลือกที่ หน้าแรกต่างกัน ใครใช้เมนูภาษาอังกฤษก็ให้เลือกที่ Difference first page จากนั้น เลขในหน้าแรกจะหายไปอัตโนมัติดังรูปค่ะ

pic_2

จะสังเกตุว่า บทที่  1 เลขหายไปแล้ว

ขั้นตอนต่อมาในบทที่ 2 ให้เอาเมาท์ไปคลิกที่หน้าก่อนหน้าบทที่ 2 ดังรูป

pic_3

เลือกที่เมนู ตั้งค่าหน้ากระดาษ >> ตัวแบ่งหน้า >>หน้าถัดไป ดังรูป
pic_4

เลขหน้าในหน้าบทที่ 2 ก็จะหายไปค่ะ

pic_5

ในบทที่ 3 4 หรือ 5 ก็ทำเช่นเดียวกันตามขั้นตอนนะค่ะ เราก็จะได้หน้าที่เป็นบทที่ ไม่แสดงเลขหน้าค่ะ
Pic_6  pic_7

หลักการนี้เราสามารถไปประยุกต์ใช้กับ การตั้งหน้ากระดาษให้บางหน้าเป็นแนวตั้ง และแนวนอนอยู่ในไฟล์งานเดียวกันดังรูปนะคะ

pic_8

Posted in การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ | Leave a comment

4 สารบัญ

  • สิ่งที่ต้องตรวจสอบ จัดเรียงตามหัวข้อ และใส่เลขหน้าให้ถูกต้อง

Table_Content_001

Posted in การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ | Leave a comment

3.ปกใน

สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

  • มีข้อความทุกอย่างเหมือนปกนอกแต่เป็นกระดาษ A4 ธรรมดาIMAG1110
Posted in การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ | Leave a comment

2.ใบรองปก

สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

  • กระดาษ A4 สีขาวเปล่า ไม่ต้องพิมพ์อะไร

IMAG1107

Posted in การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ | Leave a comment

1.ปกนอก

สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

  • พิมพ์ขนาดตัวอักษร 20 ตัวหนา
  • ใช้กระดาษ A4 สี ไม่มีลาย ไม่มีกลิ่น

ตัวอย่าง
IMAG1100

การพิมพ์
IMAG1103
ปกจะประกอบด้วย 3 ส่วน
1.ชื่อเรื่องที่ทำ
2.ชื่อ-นามสกุล รหัสนักศึกษา สาขาวิชา หมู่เรียน
3.รายวิชา ภาคเรียน ปีการศึกษา มหาวิทยาลัย

 

Posted in การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ | Leave a comment

จะ Save ภาพเป็นนามสกุลอะไรดี?

8-3-2013 11-15-07 PM

 

 

 

 

 

 

เรื่องแสนงงสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการ Save ไฟล์ภาพ ที่ไม่รู้จะ save ภาพเป็นนามสกุลอะไรดี(บางคน save ภาพทุกประเภทเป็น JEPG) เนื่องจากไฟล์ภาพนั้นมีหลายนามสกุล ไม่ว่าจะเป็น JEPG  GIF  PNG  TIFFจริงๆ มีมากกว่านี้แต่ขอพูดถึงที่ใช้บ่อยนะคะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจประเภทของไฟล์ภาพในคอมพิวเตอร์ก่อนค่ะ

ประเภทของไฟล์ภาพในคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. Raster Based เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากจุดสี ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงตัวกันในลักษณะของตาราง เราเรียกจุดเล็กๆ นี้ว่า พิกเชล (Pixel) การบอกขนาดของภาพประเภทนี้จึงอยู่ในรูปกว้าง คูณ สูง ในหน่วยพิกเชล เช่น (768×860) ถ้าหากขยายภาพประเภทนี้จะทำให้ภาพดูหยาบและมองเห็นจุดสีชัดเจนขึ้น

8-4-2013 1-02-33 AM
Raster Based                  Vector Based
ภาพจาก: http://www.slideshare.net/pises/ss-4694130

2. Vector based เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากเส้นตรง ส่วนโค้ง และรูปทรงเลขาคณิต ที่ถูกเก็บอยู่ในรูปของคำสั่งโปรแกรมและค่าตัวเลขซึ่งจะมีการคำนวณใหม่ทุกครั้งที่แสดงผล ดังนั้นเมื่อมีการขยายภาพ ภาพจะยังคมชัดเสมอ ไม่แตกเป็นจุดเหมือนกับภาพประเภท Raster based

8-4-2013 1-00-29 AM
ความแตกต่างระหว่างภาพประเภท Raster Based และ Vector Based
ภาพจาก: http://www.slideshare.net/pises/ss-4694130

คราวนี้เรามาดูไฟล์ภาพแต่ละนามสกุลกันบ้างว่าแต่ละนามสกุลนั้นเหมาะมีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะกับการ Save ภาพไปใช้ในงานใดบ้าง

JPEG รองรับสีได้ 16.7 ล้านสี เหมาะกับการ save ไฟล์ภาพถ่าย เป็นไฟล์ภาพยอดนิยม จุดเด่นของไฟล์ประเภทนี้คือ บันทึกสีได้เยอะเหมือนจริงตามธรรมชาติ ขนาดไฟล์เล็ก แต่ข้อเสียคือ หากเลือกคุณภาพในการบันทึกต่ำ จะทำให้ภาพแตกมองเห็นเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ (Pixel) โดยเราจะสังเกตุได้จากตรงส่วนขอบของภาพจะมองเห็น pixel ได้ชัด

IMG_2613
ตัวอย่างภาพทีเหมาะกับการ Save เป็นนามสกุล JEPG

GIF เป็นภาพเหมาะกับการ save ภาพที่ไม่เน้นรายละเอียดของสีที่สมจริงมาก เช่น ภาพการ์ตูน ไม่เหมาะกับภาพถ่ายเนื่องจากจะรองรับสีได้แค่ 256 สี ข้อดีคือสามารถ save เป็นภาพเคลื่อนไหวและสามารถเจาะพื้นหลังให้โปร่งใสได้ มีข้อเสีย คือ ถ้าหากเรา save ไฟล์ภาพถ่ายเป็นนามสกุล GIF จะทำให้สีของภาพเพี้ยนไม่เหมือนจริง เนื่องจากแสดงจำนวนสีได้น้อยนั้นเอง

8-4-2013 12-38-27 AM
ลักษณะภาพที่เหมาะกับ save เป็นนามสกุล .gif

PNG เป็นไฟล์ภาพที่มีคุณภาพสูง (บีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพไม่ทำให้ภาพแตกหรือคุณภาพลดลง) มีระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี สามารถนำไปบันทึกได้ทั้งภาพถ่ายและภาพการ์ตูน เจาะพื้นภาพหลังโปร่งใส่ได้ แต่มีข้อเสียขนาดของไฟล์จะใหญ่กว่า GIF มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว

TIFF เป็นไฟล์คุณภาพสูงสุดขีด เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะกับงานในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น งานออกแบบหนังสือ วารสาร ป้ายไวนิล
อีกนามสกุลนึงที่อาจจะเคยเจอคือ RAW เป็นไฟล์ภาพที่ไม่มีการบีบ คุณภาพไฟล์จะสูงมาก เช่น ไฟล์ถูกบันทึกอยู่ในกล้องถ่ายรูปดิจิตอล DSLR แต่ไฟล์นามสกุลนี้จะหาโปรแกรมเปิดได้ยากในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ต้องใช้โปรแกรมที่แถมมากับกล้องแต่ละยี่ห้อที่เราซื้อซึ่งจะมีแผนซีดีแถมมากับกล้อง ไม่ควรใช้ภาพนามสกุลนี้ upload ขึ้นเว็บหรือ Social Media ยี่ห้อใดๆ นะคะเพราะไฟล์จะใหญ่มาก จริงๆ แล้วโปรแกรมคงไม่อนุญาตให้อัพเพราะขนาดของไฟล์ใหญ่เกิน

สรุปง่ายสั้นๆ ก็คือ
JPEG เหมาะกับ save ไฟล์ภาพถ่าย
GIF เหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ไม่มีจำนวนสีเยอะมากนัก
PNG เหมาะกับภาพคุณภาพสูง พวกภาพ screenshot
TIFF งานในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ พวกออกแบบปกหนังสือ วารสาร ทำป้ายไวนิล
RAW ไฟล์ที่ไม่ถูกบีบเลย ไฟล์จะใหญ่มาก เปลืองพื้นที่ฮาร์ดดิสในการเก็บไฟล์ค่ะ ถ้าจะ save ไฟล์นามสกุลนี้คงจะเหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมากๆ

Posted in การพัฒนาเว็บไซต์ | Leave a comment

คลังความรู้เกี่ยวกับ KM

วันนี้ไปเจอข้อมูลคลังความรู้เกี่ยวกับ KM ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เลยเอา link มาปะไว้ก่อนว่างๆ แล้วจะเข้าไปอ่านมีเรื่องเกี่ยวกับ KM ที่น่าสนใจเยอะเลยทีเดียว
http://www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=5&id=16&Itemid=62

Posted in ความรู้ | Leave a comment

5 สิ่งที่ควรใส่ใจในการใช้อีเมล์เพื่อติดต่องาน

ตอนทำงานภาคเอกชนดิฉันจะใช้อีเมล์ในการติดต่องานเป็นประจำ แทบจะเขียนเมล์ตอบเมล์วันละอย่างน้อย 7 ฉบับ (ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าแจ้งปัญหา หรือด่าเกี่ยวกับระบบฯ 555) พอมาทำงานในส่วนราชการการใช้อีเมล์ก็ยังมีอยู่บ้าง แต่จะไม่เยอะมาก หลายๆ ครั้งในการส่งงานจะชอบให้นักศึกษาส่งทางอีเมล์ เนื่องจากอยากจะแก้ปัญหาเรื่องความตรงต่อเวลาในการส่งงาน (อีเมล์มีวันเวลาบอกชัดเจนว่าผู้ส่ง ส่งวัน เวลาไหน แก้ไขวัน เวลาไม่ได้ด้วย อิอิ) และแอบสังเกตุเห็นว่านักศึกษาหลายๆ คนยังใช้อีเมล์ได้ไม่ถูกต้องนัก วันนี้จึงอยากแนะนำสิ่งที่เราควรใส่ในอีเมล์ ซึ่งมีดังนี้ค่ะ

1.ชื่อเรื่อง เป็นสิ่งที่ไม่ควรลืมใส่  ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นจะขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ส่งรายงานการประชุม ส่งงานวิชา….. ขอที่อยู่ ฯลฯ ไม่ควรว่างไว้ หากไม่ใส่เวลาที่ผู้รับได้รับเมล์จะขึ้นเป็น No Subject ลองนึกถึงคนรับอีเมล์ของเรานะคะ หากมีอีเมล์เข้ากล่องของเขาต่อวัน 20 ฉบับจดหมายของเราก็คงถูกอ่านฉบับสุดท้าย หรือไม่เขาก็อาจคลิกลบไปจากกล่องโดยที่ไม่เปิดอ่านเลยก็ได้ เพราะคิดว่าไม่สำคัญ หรือไม่เร่งด่วนอะไร ดังนั้นชื่อเรื่องจึงจำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องใส่

email1

2.เนื้อความ เนื้อความในอีเมล์ควรเป็นสาระสำคัญ สั้น กระชับ และไม่ควรใช้สีตัวอักษรที่ไม่สุขภาพ  หรือขนาดตัวอักษรที่เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน อักษรตัวใหญ่ให้ความรู้สึกว่าเหมือนตะโกนใส่หน้าอะไรประมาณนั้นค่ะ หากมีการแนบไฟล์ ควรแจ้งผู้รับด้วยว่ามีเอกสารอะไรบ้างกี่รายการ  ถ้าต้องการให้ตอบรับอีเมล์ ควรแสดงข้อความยันยืนการรับหรือให้ตอบอีเมล์ เช่น หากได้อีเมล์เรียบร้อยแล้ว กรุณาแจ้งกลับด้วยนะคะ

3.คำลงท้าย ซึ่งควรใส่ชื่อ นามสกุลของตนเอง และหากมีตำแหน่งก็ลงไว้ด้วย ผู้รับจะได้รู้ว่าคนส่งเป็นใคร

4.การแนบไฟล์ ควร zip ก่อนหากมีการแนบหลายๆ ไฟล์ เพื่อผู้รับสะดวกในการดาวน์โหลด

email2

5.การตอบรับอีเมล์ หากเป็นเรื่องเดียวกันให้คลิกที่ “ตอบกลับ” ซึ่งตอนผู้รับจะได้รับคำว่า RE ต่อด้วยชื่อเรื่องที่เราส่งไป เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งอีเมล์หาเราได้รับทราบว่าเป็นเรื่องเดียวกันไม่ต้องไปค้นเรื่องดังรูป

email3

แต่ถ้าหากเป็นเรื่องใหม่ ชื่อผู้รับคนเดิม ไม่ควรใช้วิธีตอบกลับ ให้สร้างอีเมล์ฉบับใหม่เลย

ลองไปทำตามดูนะคะ ^_^

Posted in จิปาถะ, Uncategorized | Leave a comment